จดจำนองข้ามจังหวัดไม่ต้องเดินทาง

จดจำนองข้ามจังหวัดไม่ต้องเดินทาง

อยากจะกู้เงินแต่มีที่อยู่ต่างจังหวัดไม่อยากเสียเวลาเดินทาง จดจำนองข้ามเขตได้ไหม?  

เมื่อมีเรื่องจำเป็นเข้ามาในชีวิตจนต้องใช้เงินก้อนใหญ่ เพื่อต้องการสร้างโอกาสให้ตัวเอง ต่อยอดธุรกิจ หรือทำฝันให้กลายเป็นจริง แต่ปัจจุบันมาทำงานต่างถิ่น  บ้านหรือที่พักอาศัยปัจจุบันก็ยังผ่อนไม่หมด ที่ทางก็พอจะมีแต่อยู่ที่ต่างจังหวัด เราจะมีวิธีที่สามารถกู้เงินโดยใช้ที่ดินที่เรามีในต่างจังหวัดได้หรือไม่?  ถ้าคำถามของคุณเป็นดังนี้ นาวมันนี่มีคำตอบให้คุณค่ะ

การยื่นขอจดทะเบียนจำนองข้ามเขตคือคำตอบ!

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการกู้ยืมเงินโดยการจำนองต้องไปทำที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ในเขตเท่านั้น ไม่สามารถไปยื่นขอที่สำนักงานที่ดินอื่นๆได้เลย จริงๆแล้วเราสามารถยื่นขอจดทะเบียนนิติกรรมจำนองต่างสำนักงานที่ดินได้ค่ะ วิธีการโดยคร่าวๆคือสำนักงานที่ดินที่เราไปจดทะเบียนต้องส่งเอกสารทั้งหมดกลับไปทำการจดทะเบียน ณ สำนักงานงานที่ดินที่ที่ดินเราตั้งอยู่ และเมื่อสำนักงานที่ดินที่ที่ดินเราตั้งอยู่ทำเรื่องจดทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงส่งเรื่องคืนกลับมาที่สำนักงานที่ดินที่เราไปจดทะเบียน จากนั้นสำนักงานที่ดินที่เราไปจดทะเบียนจึงจะมีหนังสือแจงให้เราเข้าไปรับเอกสารที่จดทะเบียนเรียบร้อยแล้วจึงเป็นอันเสร็จสิ้น  ดังนั้นระยะเวลาในการดำเนินการจะใช้เวลานานกว่าการจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินสาขาที่รับผิดชอบ

สำนักงานที่ดินบางละมุง

การยื่นขอจดทะเบียนข้ามเขตสามารถจดทะเบียนอะไรได้บ้าง

ไม่ใช่แค่เพียงการยื่นขอจดทะเบียนนิติกรรมจำนองเท่านั้นที่สามารถยื่นขอจดทะเบียนข้ามเขตได้ แต่ที่นี้เราจะรู้ได้อย่างไรบ้างว่าการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรมใดบ้างที่เข้าข่ายในการที่เราสามารถจดทะเบียนต่างสำนักงานที่ดินได้ จากการวิเคราะห์ประมวลกฎหมายที่ดินมาตราที่ 71 และมาตราที่ 72 สามารถดูประมวลกฎหมายดังกล่าวได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้ค่ะ

ซึ่งเราสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. การจดทะเบียนนิติกรรมที่เกี่ยวกับการจำนอง เช่น การโอนสิทธิ การขึ้นเงินจำนอง การไถ่ถอน เป็นต้น
  2. การปลดเงื่อนไขจากการขายฝาก การไถ่ถอนจากการขายฝาก การโอนสิทธิการไถ่ถอนจากการขายฝาก
  3. การจดทะเบียนยกเลิกสิทธิหรือนิติกรรม เช่น การเลิกภาระจำยอม การเลิกเช่า เป็นต้น
  4. การจดทะเบียนการได้มาจากการขายทอดตลาดโดยมีการบังคับคดีจากศาล
  5. การจดทะเบียนตามคำสั่งศาลหรือการจดทะเบียนการโอนตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายอื่น

ซึ่งนิติกรรมข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรมต่างพื้นที่ได้ก็จริงจากการวิเคราะห์ประมวลกฎหมายมาตรา71 และ มาตรา72 แต่ในทางปฏิบัติเพื่อความแน่ใจและคลายข้อสงสัยให้สอบถามที่สำนักงานที่ดินก่อนจะดีที่สุด

เอกสารที่ต้องใช้

ขั้นตอนการจดทะเบียนนิติกรรมข้ามเขต

การยื่นขอจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรมต่างพื้นที่เป็นกรณีที่ผู้ขอไม่สะดวกในการเดินทางไปยื่นคำขอจดทะเบียนยังพื้นที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ ผู้ขอต้องไปยื่นเอกสารหลักฐานต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่สะดวกไปติดต่อ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ขั้นตอนการเตรียมเอกสาร เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ โฉนดที่ดินที่ต้องการจดทะเบียน, บัตรประจำตัวประชาชน, ทะเบียนบ้านตัวจริง ใบเปลี่ยนชื่อหรือเปลี่ยนนามสกุล (ถ้ามี) , เอกสารการสมรส, ใบมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  1. จัดการนัดคู่สัญญาไปยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินที่สำนักงานที่ดินไหนก็ได้ที่สะดวกกับทั้งคู่สัญญา หรือสามารถมอบอำนาจให้คนอื่นไปดำเนินการแทนได้
  2. เมื่อถึงวันนัดก็ปฏิบัติปรกติเหมือนการเข้าไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เจ้าเหน้าที่จะรับคำขอการดำเนินการการจดทะเบียนไว้ โดยที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่สามารถจดทะเบียนให้ได้ เจ้าหน้าที่จะตรวจเอกสารและจัดทำเอกสารสัญญาต่างๆเพื่อการจดทะเบียนให้ครบถ้วนและให้คู่สัญญาเซ็นชื่อในเอการที่เกี่ยวข้องทุกอย่างให้เรียบร้อย ถ้ามีการต้องบันทึกข้อตกลงหรือยินยอมใดๆ ก็จะดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยก่อน รวมทั้งรับเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ภาษีอากรต่างๆและออกใบเสร็จให้ไว้เป็นหลักฐาน รวมถึงออกใบ ท.ด.53 .ให้ผู้ขอยึดถือไว้เป็นหลักฐานเพื่อนำมาประกอบขอรับเอกสารหลังจากที่มีการจดทะเบียนแล้ว
  3. หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะจัดส่งโฉนดที่ดิน, เอกสารที่เกี่ยวข้องและค่าธรรมเนียมทั้งหมดให้สำนักงานที่ดินที่มีอำนาจในการจดทะเบียนเพื่อดำเนินการจดทะเบียนต่อไป
  4. เมื่อสำนักงานที่ดินที่รับคำขอแต่แรกได้รับเอกสารคืนมาจากสำนักงานที่ดินที่จดทะเบียนแล้ว ก็จะแจ้งให้ผู้มีสิทธิรับเอกสารมารับโฉนดที่ดินหรือสัญญาคู่ฉบับ และเงินที่เหลือ โดยผู้ขอต้องนำใบรับ (ท.ด. 53)มาเป็นหลักฐานเพื่อรับเอกสารคืนไปด้วย ก็เป็นอันจบกระบวนการ

ข้อดีและข้อเสียของการขอยื่นจดทะเบียนนิติกรรมต่างพื้นที่

ข้อดี

ประหยัดเวลาในการที่คู่สัญญาต้องเดินทางไปที่สำนักงานเขตที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งรวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายสำหรับที่พักอีกด้วย

ข้อเสีย

ระยะเวลาในการดำเนินการค่อยข้างที่จะนาน อันเนื่องมาจากต้องมีการส่งเอกสารที่ใช้ในการยื่นขอการจดทะเบียนจากสำนักงานที่ดินที่คู่สัญญาสะดวกไปกับสำนักงานที่ดินเขตที่ที่ดินตั้งอยู่ ซึ่งเป็นการส่งไปให้พิจารณา และส่งตอบกลับมาซึ่งทำให้เสียเวลาอย่างน้อย 10วัน

สำนักงานที่ดิน

ข้อควรระวัง

เนื่องจากเป็นการยื่นขอจดทะเบียนข้ามเขตการเช็คเอกสารและความถูกต้องของลายเซ็นของคู่สัญญาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จะต้องใช้ระยะเวลาเพิ่มขึ้นในการพิจารณาความถูกต้อง เนื่องจากสำนักงานที่ดินที่คู่สัญญาสะดวกไปยื่นคำขอจดทะเบียนไม่มีเอกสารที่สามารถเช็คลายเซ็นของคู่สัญญาได้ พอเอกสารไปถึงสำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ลายเซ็นอาจจะไม่ที่เคยให้ไว้ต้องมีการส่งกลับมาให้คู่สัญญาเซ็นใหม่อีกครั้งเพื่อให้คล้ายกับลายเซ็นเดิมที่ให้ไว้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเสียเวลาส่งเอกสารไป-มาขึ้นอีก ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินที่มีหน้าที่จดทะเบียนเชื่อได้ว่าเป็นคนเดียวกันได้แบบมั่นใจมากขึ้นและยินยอมดำเนินจดทะเบียนให้ต่อไป

mortgage-og

แต่หากมีผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนข้ามเขต ก็จะช่วยให้ความผิดพลาดลดลงได้ และยังช่วยลดระยะเวลาซึ่งเกิดจากความผิดพลาดได้อีกด้วย ใครที่สนใจจดจำนองข้ามเขตสามารถโทรมาปรึกษานาวมันนี่ ได้เลยนะคะ นาวมันนี่มีบริการดำเนินการจดทะเบียนข้ามเขตให้กับลูกค้าทุกท่านค่ะ

บทความที่น่าสนใจ

nowmoney-logo-circle

บริษัท นาวมันนี่ จำกัด

สำนักงานใหญ่ 81/61 ม.5 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ระบบได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว!

ขอบคุณที่สนใจสมัครสินเชื่อกับนาวมันนี่นะคะ ทางทีมงานจะรีบติดต่อท่านอย่างเร็วที่สุด